

Gut Dysfunction
Leaky Gut Syndrome (ภาวะลําไส้รั่วซึม)
ภาวะลําไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome) เป็นภาวะการทํางานของลําไส้ผิดปกติที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะลําไส้ทะลุ หรือลําไส้เป็นแผล ดังนั้นการตรวจทางลําไส้ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการกลืนแป้ง เอ็กซเรย์ลําไส้ หรือส่องกล้องอาจจะตรวจไม่พบอาการผิดปกติอย่างใด (เพราะเป็นการตรวจหาความผิดปกติทางกายวิภาค) แต่ภาวะนี้เป็นการผิดปกติในการทํางาน ซึ่งเกิดจากผนังลําไส้มีการอักเสบ และเซลผนังลําไส้มีอาการบวม ทําให้รอยต่อระหว่างผนังลําไส้ที่เคยผนึกกันอย่างเหนียวแน่นเกิดการแยกออก ทําให้สารต่าง ๆ ที่ไม่เคยผ่านเข้าออกทางเซลผนังลําไส้เกิดการรั่วซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งจะส่งผลดังต่อไปนี้
1. การดูดซึมสารอาหาร โดยเซลผนังลําไส้ทํางานได้แย่ลง ทําให้เกิดการขาดสารอาหารที่จําเป็นได้
2. การรั่วซึมผ่านของเชื้อโรค หรืออาหาร ทําให้เกิดอาการติดเชื้อ เช่น รา หรือภาวะแพ้อาหารแฝง
3. การรั่วซึมผ่านของสารพิษ หรือสารเคมีที่ไม่เคยผ่านเข้ามาได้ ทําให้เกิดการทํางานของเซลที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น อาการเหนื่อยเมื่อยล้า สมองทํางานแย่ลง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทําให้ภูมิคุ้มกันทํางานแปรปรวน ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน ภาวะภูมิคุ้มกันทําลายตนเอง เป็นต้น
4. การอักเสบของร่างกาย ซึ่งนําพาไปสู่การสร้างสารกึ่งฮอร์โมนที่ทําให้เกิดความอ้วน
สาเหตุของภาวะลําไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome)
- การเร่งรีบทานอาหาร เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
- ทานอาหารสําเร็จรูปบ่อย อาหารที่ขาดใยอาหาร อาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาลสูงสารปรุงแต่งในอาหาร
- การทานยาบางชนิดบ่อย ๆ และนาน ๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดกรดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS
- การดื่มสุรา แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ กาแฟ
- ความเครียดเรื้อรัง
- โรคติดเชื้อ โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคในระบบทางเดินอาหาร
- ภาวะแพ้อาหารแฝง เชื้อราในลําไส้ เชื้อโรคในลําไส้
- อายุที่มากขึ้น
อาการที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะลําไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome)
1.อาการขาดสารอาหาร
2.ผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังแบบต่าง ๆ ที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่นผื่นแพ้ ผื่นผดคัน สิวเรื้อรัง ผื่นผิวหนังอักเสบคล้ายรังแค Seborrheic dermatitis
3.อาการท้องอืด จุกเสียด มีลม มีแก๊สในลําไส้ ผายลมบ่อย ท้องอืดบวม ๆ ยุบ ๆ โดยเฉพาะหลังอาหารมือใหญ่ ๆ ภาวะกรดไหลย้อน ท้องผูก ท้องเสีย
4.อาการเหนื่อยอ่อนเพลีย หาสาเหตุไม่เจอ สมรรถภาพของร่างกายลดลงสมองทํางานไม่ดี หลง ๆ ลืม ๆ สมาธิสั้น ง่วงนอนบ่อย กระวนกระวาย กระสับกระส่าย ไม่อยู่นิ่ง
5.โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน
6.ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ลดน้ำหนักยาก
Ig G Food Allergy (การแพ้อาหารแฝง)
ภาวะแพ้อาหาร คือภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยากับอาหารที่เราทานเข้าไป (ซึ่งปกติคนที่สุขภาพดีทั่ว ๆ ไปจะไม่เป็น) ปฏิกิริยานี้เกิดจากเม็ดเลือดขาวสร้างภูมิคุ้มกันต่ออาหารนั้น ๆ (เหมือนกับปฏิกิริยาที่ร่างกายทําลายเชื้อโรคนั้นเอง) โดยเม็ดเลือดขาวจะสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody หรือ Immunoglobulin – Ig) ไปทําลายอาหารซึ่งโดยส่วนใหญ่ หลายคนจะรู้จักการแพ้อาหารนี้ ในแบบการแพ้จริง คือกินอาหารแล้วแพ้เป็นผื่นลมพิษหรือปากบวม แต่การแพ้อาหารแบบแฝงนี้ พบได้มากกว่าและหลายคนไม่ค่อยรู้จัก และไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะนี้อยู่ การแพ้อาหารแบบแฝงนี้มีข้อแตกต่าง จากภาวะแพ้อาหารจริงที่หลาย ๆ คนรู้จัก ดังนี้
การแพ้อาหารจริง lg E food allergy
- ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิด Ig E และทําให้เกิดการหลั่งสาร Histamine ซึ่งจะทําให้มีอาการเป็นผื่น บวม นูน และคัน ที่เราเรียกว่า ลมพิษนั่นเองหรืออาจจะทําเกิดปากบวม หลอดลมตีบ จาม คัดแน่นจมูก เป็นต้น
- อาการแพ้มักจะเกิดขึ้นเร็ว ภายหลังทานอาหารที่แพ้นั้นภายในไม่เกิน1-12 ชั่วโมง หลังทานอาหาร
- จํานวนชนิดที่แพ้ มักมีไม่กี่รายการ
- เจ้าตัวมักทราบ ชนิดอาหารที่แพ้อยู่แล้ว
แต่ในบางครั้งสารที่แพ้นั้นอาจจะไม่ใช่ของที่กิน เช่น ตัวไรในฝุ่น ขนหมา ขนแมว เกสรดอกไม้ เจ้าตัวก็อาจจะไม่ทราบซึ่งอาจจจะทดสอบได้โดยการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือเจาะเลือดตรวจ
- การรักษาก็คือต้องงดอาหารที่แพ้ตลอดชีวิต เพราะหากทานเมื่อไรก็จะมีอาการเมื่อนั้น และกินยาบรรเทาตามอาการไป
การแพ้อาหารแฝง lg G food allergy
- ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิด lg G ซึ่งไม่ทําให้เกิดการหลังสาร Histamine อาการแพ้ จึงมักไม่มีอาการแสดงออกชัดเจน อาจมีอาการเพียงท้องอืด จุกเสียด มีลมมาก มึนงง อ่อนเพลีย
- พบว่าการแพ้อาหารชนิดนี้เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วยเรื้อรังหลายชนิดที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น ผื่นแพ้ผิวหนังเรื้อรังหาสาเหตุไม่ได้ สิวเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ โรคอ้วน โรคแพ้ภูมิตัวเอง สมาธิสั้น ความจําไม่ดี อ่อนเพลียเรื้อรัง
- อาการอาจเกิดขึ้นช้า 24-72 ชั่วโมง หลังทานอาหารที่แพ้
- จํานวนที่แพ้ มักพบร่วมกันหลายรายการ
- เจ้าตัวมักไม่ทราบชนิดอาหารที่แพ้และมักชอบทานอาหารนั้นเป็นประจํา
- ทดสอบได้โดยการเจาะเลือดตรวจ” ด้วยวิธีเฉพาะซึ่งความแม่นยําขึ้น กับมาตรฐานและจํานวนชนิดของอาหารที่ทําการตรวจ
- การรักษาก็คือ งดอาหารชนิดที่แพ้ 3-6 เดือน ก็สามารถกลับมาทานอาหารนั้นใหม่ได้ โดยไม่มีอาการนั้น ๆ อีก
การเจาะเลือดตรวจ* สามารถทําการตรวจได้ทั้ง lg G และ lg E โดยเจาะเลือดจากปลายแขน (ในเด็กเล็ก อาจเจาะจากปลายนิ้วได้) ตรวจในเวลาใดก็ได้โดยไม่มีความจําเป็น ต้องงดอาหารมาก่อน (แต่จะให้ดีอาจตรวจภายหลังจากมื้อทานอาหารแล้วอย่างน้อย 1 ชั่วโมง) หากท่านทานยาแก้แพ้ แก้อักเสบอาจจะต้องแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจทราบล่วงหน้าด้วย
Dysbiosis/Yeasts (ภาวะยีสต์ในลําไส้)
ในลําไส้ของเราถึงแม้จะมีเชื้อโรคอยู่หลากหลายชนิด แต่ไม่ได้หมายความว่าเชื้อโรค เหล่านั้นจะก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาเสมอไป แต่กลับมีประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยสร้างวิตามินที่สําคัญบางชนิด สร้างกรดไขมัน หรือควบคุมเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหา ไม่ให้เจริญเติบโตมากจนเกินไป เราเรียกเชื้อโรคเหล่านั้นว่า Normal Flora หรือ Probiotics
ในขณะเดียวกันก็มีเชื้อโรคอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหากมีในปริมาณปกติก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่ร่างกาย แต่หากเชื้อโรคชนิดดีลดน้อยลงไปจนเกิดความไม่สมดุล ก็จะทําให้เชื้อโรคเหล่านี้ เจริญเติบโตและก่อให้เกิดปัญหาต่อร่างกายได้ เชื้อโรคเหล่านี้ ได้แก่ เชื้อรา (Yeasts) เชื้อแอนแอโรบส์ (Anaerobes) ซึ่งภาวะเสียสมดุลนี้เราเรียกว่า Dysbiosis
สาเหตุของภาวะยีสต์ในลําไส้
- เคี้ยวอาหารเร็วเกินไป
- กรดในกระเพาะน้อย
- น้ำย่อยจากตับอ่อนน้อย
- ทานยาปฏิชีวนะนาน ๆ
- เครียด
- โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง
- ชอบทานอาหารหวาน แป้ง
- การเปลี่ยนฮอร์โมน
- การตั้งครรภ์
- ยาคุมกําเนิด
- ยาสเตียรอยด์
- เบาหวาน
กลุ่มอาหารที่สงสัยว่าอาจมีภาวะเชื้อราในลําไส้
อาการที่เกี่ยวข้องพบได้ทั่วไป
- ชอบทานของหวาน น้ำตาล
- ชาปลายมือ ปลายเท้า
- สิว
- หอบหืด
- Eczema
- Scleroderma
- ไซนัสอักเสบ
- Lupus
- Rheumatoid
- Multiple sclerosis
- Myasthenia gravis
- Crohn’s disease
อาการในเด็กทารก
- เป็นหวัดบ่อย
- หูน้ำหนวก
- กระสับกระส่ายง่าย
- ปัญหาการนอน
- ปัญหาการย่อยอาหาร
อาการในเด็กวัยเรียน วัยรุ่น
- เหนื่อยง่าย
- ปัญหาการเรียน
- สมาธิสั้น
- ซึมเศร้า
- แพ้อาหาร แพ้สารเคมีหลายตัว
- หงุดหงิดง่าย
- ปวดศีรษะ
อาการในผู้หญิง
- ปวดประจําเดือน
- ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย
- ตกขาวคันในช่องคลอด มีกลิ่น
- ปวดเจ็บเวลาร่วมเพศ
- คันช่องคลอด
- เอ็นโดเม็ททริโอซิส
- เป็นหมัน
อาการในผู้ชาย
- เหนื่อยง่าย
- ปวดศีรษะ
- ปัญหาทางเดินอาหาร
- ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- ซึมเศร้า ความจําไม่ดี
- แพ้อาหาร แพ้สารเคมี
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ