ตรวจสุขภาพแบบเวชศาสตร์ชะลอวัย
3-D Body Scan (สแกนร่างกาย เพื่อดูความผิดปกติ)
คือเครื่องตรวจสแกนร่างกายดูความผิดปกติ ในการทํางานแบบคร่าว ๆ ชนิดหนึ่ง โดยอาศัยการตรวจวัดความผิดปกติ ในการเหนี่ยวนําไฟฟ้าของเนื้อเยื่อต่าง ๆ รอบ ๆ เซล (Electro interstitial gram: Scan Gram- สแกนกรัม)
คล้ายกับการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยอาศัยหลักการที่ว่า หากเซลบริเวณใดมีการทํางาน ที่ผิดปกติไป ย่อมทําให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณนั้นมี คุณสมบัติการเหนี่ยวนําไฟฟ้าที่ผิดปกติไปจากเดิมได้ด้วย
และเครื่องนี้จะทําการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วแสดงผลเป็น ภาพ 3 มิติ ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วบอกถึงการทํางานในส่วนนั้น ๆ ว่าอยู่ ในสภาวะปกติ ทํางานมากขึ้น (Hyperfunction) หรือทํางานน้อยลง (Hypofunction)
ซึ่งโปรแกรมสามารถบ่งบอกได้ถึงระดับฮอร์โมน สารอิเลคโตรไลท์ สารสื่อประสาท สารอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทําการตรวจ เพิ่มเติมทางการแพทย์ไปยังส่วนต่าง ๆ ที่มีความผิดปกตินั้น ๆ ว่ามีความผิดปกติ จริง ๆ หรือไม่ หรือให้คําแนะนําในเรื่องอาหารการกิน สารเสริมอาหารที่ควรบริโภค เพิ่มเติมกับความต้องการของแต่ละบุคคล
ซึ่งการตรวจวิเคราะห์แบบนี้ ไม่มีการเจ็บเนื้อเจ็บตัว ไม่มีเข็มไม่มีความเจ็บปวด ไม่มีการเอ็กซ์เรย์ หรือฉายรังสีใด ๆ และใช้เวลาไม่นาน สะดวกรวดเร็ว สิ่งที่แสดงผลการทดสอบมีดังต่อไปนี้
- ค่าแสดงทางสรีรวิทยา (Physiologic Parameters) มากกว่า 100 รายการ
- อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทํางานเป็นปกติหรือไม่
- ภาวะความผิดปกติของร่างกายแม้แต่เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆที่ยังไม่แสดงอาการ แสดงผลได้ทันที ภายหลังจากที่โปรแกรมของเครื่อง สแกนเสร็จ ไม่ต้องรอนาน
- สามารถดูความเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ว่าดีขึ้นหรือแย่ลง ภายหลังจากที่ทําการรักษาหรือเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น อาหารการกิน อาหารเสริม การนอน การออกกําลังกาย
อนึ่ง ถึงแม้การตรวจชนิดนี้จะมีความไว ในการวิเคราะห์ความผิดปกติ เล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ก่อนการตรวจทางการแพทย์แบบอื่น ๆ แต่ก็ไม่ใช่การทดสอบที่ใช้ในการวินิจฉัยว่าจะต้องเป็นโรคนั้น ๆ อย่างแน่นอน จําเป็นต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ ที่จําเพาะเจาะจงกับโรคนั้น ๆ เพิ่มเติมอีกต่อไป
การตรวจนี้จึงเป็นเพียงแค่การชี้แนะว่าอาการผิดปกติของร่างกาย ๆ นั้น ๆ น่าจะมุ่งเน้นประเด็นไปที่อวัยวะ หรือระบบใดของร่างกาย (Screening test)
Nutritional Level Tests (การขาดวิตามินและเกลือแร่)
มีหลักฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าการขาดวิตามินและเกลือแร่จะมีผลกระทบ ต่อการเกิดโรคและสุขภาพโดยรวม การทํางานของภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและนําไปสู่กระบวนการ เสื่อมเรื้อรัง เช่น โรคข้อเสื่อม โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวาน (The Journal of the American Medical Association ; June 19, 2002-Vol 287, No 23)
ในปัจจุบันเราสามารถที่จะตรวจระดับสารอาหารในเลือดได้หลายชนิด เพื่อประเมินภาวะขาดสารอาหารของแต่ละบุคคล รวมไปถึงการวางแผนการให้สารเสริมอาหารอย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้อีกด้วย โดยสารอาหารที่สามารถตรวจได้ในปัจจุบัน ได้แก่
- กลุ่มวิตามินบี ได้แก่ บี1 บี2, บี6, บี9 และ บี12
- กลุ่มสารแอนติออกซิแดนท์ ได้แก่
– วิตามินเอ, แอลฟ่าและเบต้าแคโรทีน, ไลโคปีน
– วิตามินซี
– วิตามินอี (แอลป่าและแกมม่าโทโคเฟอรอล)
- กลุ่มวิตามินดี ได้แก่ 25-OH VitaminD2, 25-OH Vitamin D3 และ Total Vitamin D

Hormonal Testing (การตรวจระดับของฮอร์โมนในร่างกาย)
คือการตรวจระดับของฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อดูความผิดปกติที่ต่ำกว่าระดับสมบูรณ์สูงสุด (Suboptimal Level) เราพบว่าระดับฮอร์โมนที่ระดับสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Level) คือตอนที่ร่างกายอายุประมาณ 20-35 ปี เป็นช่วงเวลาที่เซลทํางานได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพในการทํางานสูงที่สุด จึงทําให้เรายังดูหนุ่มสาวนั่นเอง และเมื่อเราอายุมากขึ้นหรือที่ไม่ดีพอ ก็จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเหล่านี้ลดลง มีอาการของความแก่ ความชรา ความเสื่อม และเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เป็นโรคต่าง ๆ อีกด้วย
การให้ฮอร์โมนเสริม หรือปรับวิถีชีวิตให้ระดับฮอร์โมนคงไว้ที่ระดับสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Level) ก็จะช่วยให้สมรรถภาพของร่างกาย สมอง จิตใจและอารมณ์กลับคืนมาสู่สมดุล ชะลอการเสื่อมเที่ยวแก่ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้อีกด้วย การตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมนสามารถทําได้ 3 ช่องทาง
- ทางน้ำลาย เป็นวิธีที่บอกถึงการบกพร่องของระดับฮอร์โมนร่างกายได้ดีที่สุด
- ทางปัสสาวะ เป็นวิธีที่บอกถึงการสร้างและการใช้ฮอร์โมนของร่างกายได้แม่นยําที่สุด
- ทางน้ำเลือด เป็นวิธีที่ด้อยกว่า 2 วิธีข้างต้น แต่สามารถทําได้ในเมืองไทย ขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ราคาไม่แพง ทราบผลได้ในเวลาไม่นาน แต่ต้องอาศัยอาการของคนไข้ และแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการอ่านผลประกอบ



Toxicology Testing (สารพิษโลหะหนัก)
มลภาวะเป็นพิษ และสารเคมีที่มากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ร่างกายเราอาจได้รับสารพิษโลหะหนักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลก่อให้เกิดปัญหาของสุขภาพเรื้อรังตามมา เช่น เหนื่อยอ่อนเพลียไม่รู้สาเหตุ สมองทํางานแย่ลง อ้วนเรื้อรัง เซลลูไลท์ ภาวะภูมิคุ้มกันแปรปรวน ผื่นแพ้ผิวหนังหาสาเหตุไม่ได้ ภูมิแพ้ทําลายตนเอง โรคหลอดเลือดเสื่อม และโรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีการตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกาย เพื่อทําการขจัดออกตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการดังกล่าวข้างต้นซึ่งการตรวจนี้สามารถทําได้ 3 ทางด้วยกัน คือ
- ตรวจจากเลือด จะบ่งบอกถึงภาวะการได้รับสารโลหะหนักแบบฉับพลันมากกว่า แต่ถ้าพบสูงในภาวะปกติ ก็แสดงว่าในร่างกายน่าจะมีโลหะหนักชนิดนั้น ๆ อยู่มากพอสมควร
- ตรวจจากเส้นผม เป็นการตรวจที่จะบอกถึงการสะสมของโลหะหนักในร่างกายได้ดีที่สุดเพราะเมื่อโลหะหนัก เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะอยู่ในกระแสเลือดไม่นาน ก็จะสะสมในเนื้อเยื่อของร่างกายโดยเฉพาะไขมัน ดังนั้นเส้นผมจึงเป็นอวัยวะที่เราสามารถตรวจการสะสมของโลหะหนักในร่างกายได้ดีที่สุด แต่ควรจะเป็นเส้นผมหรือขนที่ไม่ผ่านน้ำยากัด ฟอก หรือย้อมสีผมจึงจะดีที่สุด
-
ตรวจจากปัสสาวะ จะตรวจพบโลหะหนักในปัสสาวะได้เมื่อร่างกายทําการขับโลหะหนักออก ดังนั้นในภาวะปกติไรนัก แต่หากทําหลังจากการทําคีเลชั่น (คือการให้สารที่ขจัดโลหะหนัก) ก็อาจจะตรวจพบ สารโลหะหนักที่ขับออกมาเพิ่มมากขึ้น เป็นการยืนยันว่าร่างกายมีสารโลหะหนักอยู่มากน้อยเพียงใด หรือคาดคะเน จํานวนครั้งในการทําคีเลชั่น หรือประเมินผลในการหยุดทําคีเลชั่น

Genetic Testing (การตรวจยีน)
เป็นโปรแกรมการตรวจยีน หรือรหัสสารพันธุกรรมของแต่ละบุคคล เพื่อประโยชน์ในการดูแล สุขภาพในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเฉพาะเจาะจง (Personalized / Tailored-made Health Program) โดยโปรแกรมการตรวจยีนสามารถบอกได้ถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
A. โปรแกรมการตรวจยีนแบบมาตรฐาน
- ภาวะแพ้ยา เนื่องจากยาหลายชนิดที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง อย่างเช่น Steven-Johnson Syndrome ซึ่งภาวะนี้เป็นอันตรายถึงชีวิต เราพบว่าอาจเกี่ยวข้องกับยีน ที่เกี่ยวกับการเผาผลาญยาบางตัว การที่เราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้กับยาชนิดต่าง ๆ ก่อนเบื้องต้น ก็จะทําให้แพทย์ตระหนักและเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยาเหล่านี้กับเราในอนาคตได้ โดยทําการตรวจจํานวนตัวยารวมทั้งสิ้น 10 รายการ เช่น ยาลดไขมันกลุ่มสเตดิน ยาต้านไวรัส ยากันชัก ยาต้านมะเร็ง ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น
- พาหะของโรค 76 โรค เพื่อใช้ในการวางแผนครอบครัว การแต่งงาน การมีบุตร เพราะหากท่านเป็นพาหะของโรคชนิดใดและมีบุตรกับผู้ที่มีพาหะโรคนั้น ๆ ก็อาจจะส่งผลให้บุตรได้รับ ยีนด้อยทั้งหมด และแสดงอาการของโรคนั้นอย่างชัดเจนได้ เช่น โรคธาลาสซีเมีย ซึ่งพบได้บ่อย ในแถบประเทศบ้านเรา เป็นต้น
-
ภาวะโอกาสเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง 17 กลุ่มโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โรคอ้วน โรคเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลําไส้อักเสบ เป็นต้น
อนึ่ง การตรวจพบว่าเรามียีนที่เกี่ยวข้องกับโรคใดก็ตาม มิได้หมายความว่าเราจะต้องเป็น โรคเหล่านั้นเสมอไป เพราะยีนจะแสดงออกหรือไม่นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คือ ไลฟ์สไตล์ เช่น การกิน การนอน การออกกําลังกาย ความเครียด คอยส่งเสริมด้วย
ดังนั้น หากเราทราบถึงภาวะยีนในร่างกายเราที่เสี่ยงต่อภาวะเสื่อมของโรคต่าง ๆ ก็จะทําให้ เราตระหนักและใส่ใจในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ส่งเสริมยีนเหล่านั้นให้มากยิ่งขึ้น เช่น หากเรามียีนมะเร็งเต้านม เราก็ควรจะทําการตรวจคลําเต้านมด้วยตนเองบ่อยขึ้น รีบตรวจเอ็กซ์เรย์เต้านมเพิ่มเติม หากสงสัยในความผิดปกติเร็วกว่าปกติ หลีกเลี่ยงฮอร์โมนเสริมสังเคราะห์ หลีกเลี่ยงสารเคมี ยาฆ่าแมลงให้รัดกุมยิ่งขึ้น หรือทําการล้างสารพิษในร่างกายมากขึ้น หรือหากเรามียีนมะเร็งลําไส้ใหญ่ เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มปิ้ง ย่าง รมควัน อาหารแปรรูป ทานผักผลไม้ หรืออาหารเสริมกลุ่ม ไฟเบอร์ให้มากขึ้น ทําการตรวจดูผนังลําไส้ เช่น ส่องกล้องหรือสวนแป้ง มีอาการขับถ่ายผิดปกติ เป็นต้น

B. โปรแกรมการตรวจยีนแบบวิเคราะห์ไลฟ์สไตล์
เป็นโปรแกรมการตรวจยีนที่สัมพันธ์กับไลฟ์สไตล์วิถีชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวกับการกิน การออกกําลังกาย ความต้องการสารอาหารในร่างกาย พฤติกรรมและอุปนิสัยในการทานอาหาร ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น โปรแกรมนี้จะแบ่งประเภทดังต่อไปนี้
- สูตรอาหารชนิดใดที่เหมาะกับคุณ เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีความสามารถในการเผาผลาญ อาหารที่แตกต่างกันไป ดังนั้น บางครั้งที่เราบริโภคอาหารตามสูตรคนนั้นคนนี้ อาจได้ผลแต่เฉพาะกับคนอื่น แต่อาจไม่ได้ผลกับตัวคุณเอง ในโปรแกรมนี้จะทําให้คุณทราบว่าการเผาผลาญอาหาร ของร่างกายคุณเหมาะกับสูตรอาหารชนิดใด หรือบริโภคแบบใดจะเกิดผลต่อสุขภาพโดยตรงกับตัวคุณมากที่สุดนั้นเอง ตัวอย่างของสูตรอาหารต่าง ๆ ได้แก่ สูตรอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำหรือโลว์คาร์บ สูตรอาหารไขมันต่ำ สูตรอาหารแบบสมดุล และสูตรอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น
- นิสัยหรือพฤติกรรมการบริโภคของคุณเป็นแบบใด เช่น หิวบ่อย ชอบกินจุบจิบ อิ่มง่าย เริ่มกินอาหารแล้วหยุดยาก มีความอยากอาหารหรือหาของกินได้ตลอดเวลา ชอบทานของหวาน เป็นต้น
- ปฏิกิริยาต่ออาหารบางชนิด เช่น เผาผลาญกาแฟเร็วหรือช้า ทานอาหารรสขมได้ นิสัยชอบ ทานของหวาน ดื่มนมแล้วท้องเสีย ดื่มสุราแล้วหน้าแดงง่าย เป็นต้น
-
ความต้องการของสารอาหารวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี6 บี9 มี12 เอ ดี อี ว่าร่างกายของเราเผาผลาญได้เร็วช้าเพียงใด หากร่างกายของเราเป็นแบบที่เผาผลาญวิตามินชนิดใด ได้เร็ว ก็อาจจะทําให้เรามีโอกาสขาดวิตามินตัวนั้นได้ หากบริโภคแต่เพียงแค่อาหารในชีวิตประจําวันตามปกติ นั่นหมายถึง ว่าอาจจะต้องพิจารณาบริโภคสารเสริมอาหารในกลุ่มนั้น ๆ เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
- การออกกําลังกาย เป็นการวิเคราะห์ยีนที่เกี่ยวกับ ลักษณะของกล้ามเนื้อในแต่ละคน ว่ามีความเหมาะสมกับ การออกกําลังแบบชนิดใด เช่น ชนิดอึดอดทนแบบวิ่งมาราธอน ชนิดแข็งแรงแบบยกน้ำหนัก ชนิดรวดเร็วแบบวิ่งเร็ว ซึ่งจะทําให้ทราบได้ว่าการออกกําลังกายแบบใดจะได้ประโยชน์ กับเจ้าตัวมากที่สุด และมีผลต่อการลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต ลดไขมันสะสม เพิ่มเอชดีแอล เพิ่มความไวต่อฮอร์โมน อินซูลินหรือไม่ รวมไปถึงยังบอกโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา ว่ามีมากน้อยเพียงไรได้อีกด้วย
-
ความอ้วน สามารถดูได้ว่าเรามียีนที่อ้วนง่ายหรือไม่ หรือหากลดน้ำหนักแล้วจะกลับมา อ้วนใหม่ได้มากน้อยเพียงใด และอัตราการเผาผลาญของร่างกายอยู่ในเกณฑ์ที่ผิดปกติหรือไม่
- ระดับของไขมัน (เอชดีแอล แอลดีแอลไตรกลีเซอร์ไรด์) และน้ำตาลในเลือด ว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นง่ายหรือไม่
Cardiovascular Risk Testing (โรคหลอดเลือดหัวใจ)
โรคหลอดเลือดเสื่อมและโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น นับวันก็ยิ่งจะมีความสําคัญต่อปัญหาสุขภาพ และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนอกจากปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญต่าง ๆ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น ประวัติในครอบครัว ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด การไม่ออกกําลังกาย อาชีพนั่ง ๆ นอน ๆ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นต้น
แต่ในปัจจุบันเราพบว่า ปัจจัยที่สําคัญและเกิดขึ้นก่อนภาวะต่าง ๆ เหล่านั้น นั่นคือ การอักเสบของหลอดเลือดในร่างกาย ที่จะนําพาให้ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดนั่นเอง ดังนั้น หากเราสามารถประเมินภาวการณ์อักเสบของหลอดเลือดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และหาทางแก้ไขปัญหาการอักเสบเหล่านั้นก่อน ก็จะเป็นการป้องกันภาวะหลอดเลือดเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั่นเอง
การประเมินภาวการณ์อักเสบที่นําพาไปสู่การเสื่อมของหลอดเลือด ได้แก่
- Homocysteine เป็นกรดอะมิโนในร่างกายของเราชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญ โปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ จากสาเหตุที่สําคัญ คือ การขาดวิตามินบี6, 9 และ 12 โดยจะส่งผลให้เกิด ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจเสื่อม โรคกระดูกพรุน โรคสมองเสื่อม เป็นต้น ค่านี้จะบ่งบอกไปได้ถึงภาวะทุพโภชนาการ คือการได้รับสารอาหารที่สําคัญไม่ครบถ้วนได้อีกด้วย
-
Fibrinogen คือ โปรตีนในเลือดที่มีหน้าที่สําคัญในการแข็งตัวของหลอดเลือด หากมีสูงขึ้นก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่การเกิดการอุดตันในหลอดเลือดได้ง่าย
-
Lipoprotein (a) คือ โปรตีนนําพาไขมันที่สามารถเกาะกับผนังหลอดเลือดได้ง่าย มากขึ้น หากสูงแสดงถึงภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดเสื่อมแบบพันธุกรรมที่จะพบภาวะนี้ ได้กับบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว
- hs-CRP คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่เซลของร่างกายสร้างขึ้น เมื่อเกิดการอักเสบ ในร่างกาย รวมไปถึงภาวการณ์ติดเชื้อโรคบางชนิดก็จะมีค่าโปรตีนนี้สูงขึ้นด้วย ได้แก่ เชื้อ CMV Chlamydia Herpes CMV EBV H.Pyroli รวมไปถึงภาวะเหงือกอักเสบ เรื้อรังอีกด้วย
ดังนั้น หากเราตรวจพบภาวะที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดต่าง ๆ เหล่านี้ได้แต่เนิ่น ๆ และรีบแก้ไขเสีย ก็จะเป็นการป้องกันภาวะหลอดเลือดเสื่อมในอนาคต ได้อย่างถูกทางอีกด้วย