Monthly Archives: September 2024

ภาวะแพ้อาหารแฝง

ภาวะแพ้อาหารแฝง ใครเลยจะคิดว่าอาหารที่เราทานเป็นปกติอยู่ทุกวันนี้ เพียงเพื่อหวังที่จะได้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ค่อยจะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าไรแล้ว ยังมีมลพิษ มลภาวะสารเคมีต่าง ๆ ปนเปื้อนเข้ามามากมาย ที่คอยกัดกร่อน บั่นทอนสุขภาพของเราอีก แต่กลับอาจจะก่อให้เกิดการกระตุ้นภาวะภูมิคุ้มกันของเรา และนำมาสู่ปัญหาสุขภาพอีกหลายอย่างที่เราคาดไม่ถึงอีกด้วย เมื่อพูดถึงภาวะแพ้อาหาร หลายคนอาจจะเข้าใจความหมายของภาวะแพ้อาหารโดยทั่วไป ที่บริโภคสารที่แพ้แล้วเกิดผื่นบวม คัน เป็นลมพิษ หรือหอบหืด ซึ่งปฏิกิริยาเหล่านี้เกิดจากเม็ดเลือดขาวของเราที่ทำหน้าที่คล้ายทหาร คือคอยตรวจตราสอดส่องดูแลว่าใครเป็นสิ่งแปลกปลอม ข้าศึก ผู้ร้าย ศัตรู แล้วทำการขจัดทำลายเสีย ซึ่งปกติก็เป็นพวกเชื้อโรคเป็นส่วนใหญ่ แต่ในกรณีนี้ เม็ดเลือดขาวกลับมองอาหารที่เราทานเข้าไปเป็นสิ่งแปลกปลอม และเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ซึ่งโดยปกติแล้วปฏิกิริยาต่อต้านเหล่านี้ เม็ดเลือดขาวก็มักจะตอบสนองโดยการสร้างสารภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี ซึ่งเป็นสารกลุ่มโปรตีนที่เราเรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin ย่อเป็น Ig) ซึ่งมีหลากหลายชนิดและมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป เช่น IgA IgG IgE IgS IgM (หากเปรียบเทียบเจ้าอิมมูโนโกลบูลินนี้เหมือนเป็นอาวุธของทหาร ก็มีอาวุธที่หลากหลาย และแสนยานุภาพของอาวุธแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป เช่น ปืน ธนู มีด ดาบ ระเบิด เป็นต้น) ในปฏิกิริยาแพ้อาหารที่หลายคนคุ้นเคย […]

ภาวะลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome)

ภาวะลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome) หากคำกล่าวที่ว่า ดูช้างให้ดูที่หาง ดูนางให้ดูที่แม่ เป็นคำกล่าวสุภาษิตโบราณเชย ๆ ที่ยังใช้ได้ดีแล้วละก็ ลำไส้ของมนุษย์เราก็เปรียบเทียบได้กับรากของต้นไม้ดี ๆ นี่เอง เพราะรากของต้นไม้ที่ดีก็จะดูดซึมสารอาหารดี ๆ สู่ลำต้น และส่งผลให้ดอก ใบ ผล เจริญเติบโตงอกงาม ในทางตรงกันข้ามหากรากของต้นไม้นั้นเน่าแล้วไซร้อย่าหวังที่จะได้เห็นการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงในระยะยาว ลำไส้ของมนุษย์เราก็เฉกเช่นเดียวกัน มันทำหน้าที่ที่สำคัญในการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ที่เราบริโภคเข้าไปสู่ร่างกาย และยังทำหน้าที่สำคัญในการเป็นปราการแบ่งแยกสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายใน คัดกรองสารพิษหรือสารเคมีต่าง ๆ ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายของเราอีกด้วย เปรียบเหมือนเป็นตม. ที่สนามบิน อาหารที่เราทานผ่านปากเข้าไปก็เหมือนกับเครื่องบินที่บินผ่านเข้าน่านฟ้าประเทศนั้น ๆ แต่ผู้โดยสารในเครื่องบินลำนั้นจะเข้าประเทศนั้นได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าสามารถผ่านการตรวจตราที่ตม. ได้หรือไม่นั่นเอง หากลำไส้เกิดทำงานผิดพลาดไม่สามารถแยกแยะการดูดซึมหรือคัดกรองสารอาหารหรือสารพิษต่าง ๆ ในการเข้าสู่ร่างกายก็จะเกิดปัญหาตามมาได้ ซึ่งเราเรียกภาวะความผิดปกติแบบนี้ว่า Leaky Gut Syndrome ซึ่งเราจะเรียกว่าลำไส้รั่วก็ไม่น่าจะใช่ เพราะฟังดูคล้ายลำไส้เป็นรูทะลุ (ซึ่งแบบนี้ต้องไปให้หมอศัลยกรรมทำการผ่าตัดเย็บซ่อมรูโดยด่วน มิฉะนั้นอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้) หรือจะเรียกว่าลำไส้ซึมก็ไม่เชิง (เพราะฟังดูคล้ายลำไส้มีอาการทางจิตไปเสียแบบนั้น) เอาเป็นว่าหมอขอเรียกภาวะนี้รวมกันว่า ภาวะลำไส้รั่วซึม เลยดีกว่าแล้วกันน่าจะสื่อความหมายได้ตรงประเด็นที่สุด ภาวะนี้จัดเป็นภาวะการทำงานผิดปกติอย่างหนึ่งของลำไส้ (Functional change) ที่ยังไม่ได้จัดว่าเป็นโรค […]

ปัญหาช่องคลอดที่พบบ่อยในผู้หญิงและสาเหตุที่ควรรู้

ภาวะปัญหาช่องคลอดของผู้หญิงหมายถึงกลุ่มอาการหรือโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณช่องคลอด ซึ่งสามารถมีหลายสาเหตุและลักษณะอาการแตกต่างกันออกไป ปัญหาที่พบบ่อยในช่องคลอดมีดังนี้: 1. การติดเชื้อในช่องคลอด เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal yeast infection): เกิดจากเชื้อรา Candida ทำให้มีอาการคัน แสบ และมีตกขาวผิดปกติ การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (Bacterial vaginosis): การเสียสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด ทำให้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์และตกขาวสีผิดปกติ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections – STIs) เช่น หนองในแท้ (Gonorrhea) หนองในเทียม (Chlamydia) และเชื้อไวรัส HPV ที่อาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 2. ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal dryness) เกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดลดลง ส่งผลให้เกิดความไม่สบายตัว เจ็บ หรือระคายเคือง ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 3. ภาวะช่องคลอดหย่อน (Vaginal prolapse) เกิดจากการที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในช่องคลอดอ่อนแรงลง ทำให้อวัยวะภายในเช่น กระเพาะปัสสาวะหรือมดลูกย้อยลงมากดที่ผนังช่องคลอด 4. ภาวะเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia) เกิดจากหลายปัจจัย เช่น การอักเสบ การติดเชื้อ หรือภาวะช่องคลอดแห้ง […]

Anti Aging คืออะไร

Anti-Aging แอนไทเอจจิ้ง คืออะไร หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำๆนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจและเห็นแจ้งกับศาสตร์นี้อย่างจริงจัง หากถามว่า แอนไทเอจจิ้งคืออะไร บ้างก็คิดถึงเรื่องของการชะลอริ้วรอย ทำหน้าเด็ก อ่อนเยาว์ด้วยการฉีดโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ หรือเลเซอร์ต่างๆ บ้างก็นึกถึงเรื่องของสเต็มเซลล์ไปนู่นเลย บ้างก็บอกว่าเป็นเรื่องล้างพิษ การสวนล้างลำไส้ การทำคีเลชั่น และบ้างก็บอกว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ (หรือว่าเป็นวิธีหลอกกินตังแบบใหม่???) 5555 คอลัมน์นี้จึงขอนำเสนอเรื่องราวของ ศาสตร์แอนไทเอจจิ้ง ว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไร ศาสตร์แขนงนี้ถือกำเนิดมาไม่นานนัก ในแถบยุโรปและอเมริกาและได้รับความนิยมอย่างสูงจนเริ่มแพร่หลายเข้ามาในแถบโซนเอเซีย เกาหลี ญี่ปุ่นและไทย แต่เดิมอาจจะนิยมในหมู่ราชนิกูล เศรษฐี หรือคนมีตังที่อยากให้ตนเองดูดี อ่อนเยาว์ แข็งแรง ไม่ป่วย และต้องสวยกว่าอดีตอีกด้วย แต่จริงๆ แล้วศาสตร์แขนงนี้มิได้จำกัดแต่ในหมู่คนมีเงินเท่านั้น แต่ทุกๆคนก็สามารถสัมผัสได้เพราะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ การดูแลร่างกายของเราถึงในระดับเซลล์ให้มีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Health) ทั้งในด้านสารอาหาร กรดอะมิโน วิตามิน เกลือแร่ ฮอร์โมนส์ สารสื่อประสาท สารแอนติออกซิแดนท์ เมื่อเซลล์หรืออวัยวะของร่างกายเรามีระดับของสารเหล่านี้อยู่ในระดับที่สมบูรณ์สูงสุด ร่างกายเราก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอก็จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ การป้องกันตนเองจากการเสื่อม การถูกทำลายจากมลพิษมลภาวะต่างๆ ก็จะทำได้อย่างเต็มที่ โอกาสที่เซลล์ของเราจะเสื่อมสภาพ บาดเจ็บ หรือสึกหรอก็จะน้อยลง เพราะเราเชื่อว่าความชรา […]

ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง

ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง คุณมีอาการต่อไปนี้หรือไม่ อ้วนง่าย น้ำหนักลงยาก ขี้เกียจ ตื่นสาย ง่วงนอนบ่อย ขี้หนาว ขี้หลงขี้ลืม ท้องผูก ผิวแห้ง ตาบวม นิ้วมือบวม หากใช่เป็นส่วนใหญ่แล้วละก็  ข่าวร้ายก็คือคุณอาจจะเจอภาวะนี้เข้าให้แล้ว แต่ข่าวดีก็คือบทความข้างล่างนี้เป็นของคุณ ! ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝงนี้เป็นภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยในโลกสังคมปัจจุบัน และในศาสตร์ชะลอวัย ภาวะนี้ไม่จัดว่าเป็นโรคของต่อมไทรอยด์ แต่เป็นภาวะที่การทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอใช้แก่ความต้องการเพื่อสมรรถภาพการทำงานอย่างสูงสุดของร่างกาย และก็ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ต่อมไทรอยด์จะโตหรือไม่โตด้วยเช่นกัน ต่อมไทรอยด์ของเราอยู่บริเวณลำคอใต้ลูกกระเดือก ในภาวะปกติมักคลำไม่ได้ และมองเห็นไม่ชัดเจน มีหน้าที่ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนซึ่งมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงานในเซลล์ การทำงานของระบบสมอง ดังนั้น เมื่อระดับของมันต่ำลงก็จะทำให้การเผาผลาญของร่างกายลดลง ทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย และลดลงยาก พยายามควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายเพิ่ม น้ำหนักก็ลดลงไม่ได้สัดส่วนที่สมดุลเท่าไรนัก แล้วเผลอ ๆ ก็ไม่ค่อยอยากออกกำลังกายสักเท่าไรเพราะจะรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียไม่มีแรง ทำให้ตอนเช้า ๆ ก็มักจะตื่นสาย ตื่นแล้วก็รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วง ระหว่างวัน  สมองไม่มีพลังงานก็จะรู้สึกตื้อ ๆ ไม่กระปรี้กระเปร่า ขี้หลงขี้ลืม มึน ๆ งง ๆ ไม่คล่องแคล่วว่องไว บางคนก็อาจจะมีอาการซึมเศร้า หดหู่ ท้อแท้ […]

ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่

ไม่อ้วนเอาเท่าไร บอกซิเออ เธอจะเอาเท่าไร เอาเท่าไร ไม่อ้วนเอาเท่าไร ฟังเพลงนี้แล้วก็นึกถึงหลายคนที่มีแฟนหรือคุณสามี หรือคุณพ่อคุณแม่จ้างวานให้ลดน้ำหนักเป็นการด่วน แต่ดูเหมือนว่าการทำอย่างอื่นน่าจะได้เงินง่ายและเร็วกว่าการจ้างลดน้ำหนักซะด้วยซ้ำ เหตุผลน่ะหรือ ก็ลองมาหลายวิธีแล้วไง ยังไง เจ้าไขมันหรือความอ้วนนี่ก็ไม่ยอมเลิกสัมพันธภาพกับเราเสียที เอาละ! อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะในศาสตร์ชะลอวัยนี้ เราพบว่าหากคุณค้นหาสาเหตุแห่งความอ้วนแฝงนี้เจอและแก้ไขที่ต้นเหตุได้แล้วละก็ คุณก็จะสามารถกลับมาดูดี ผอมเพรียว สลิมเรียวให้หลายคนเหลียวมอง โดยไม่ต้องจ้างวาน และยังผอมได้แบบคุณภาพดี ไม่เหี่ยว ไม่โทรม และไม่มีโยโย่กันอีกด้วยเลยทีเดียว ต้นเหตุของความอ้วน เราพบว่ามีอยู่จำนวนเล็กน้อยที่ภาวะอ้วนเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นนำมาก่อน หรือที่เราเรียกว่าอ้วนทุติยภูมิ (Secondary Obesity) เช่น โรคไทรอยด์ต่ำ ยาสเตียรอยด์ โรคความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด ฯลฯ ซึ่งภาวะเหล่านี้เกิดจากโรคหรือยานั้น ๆ เป็นต้นเหตุหลัก และก่อให้เกิดภาวะอ้วนตามมาหากต้นเหตุเหล่านั้นยังคงอยู่ก็ยากที่จะควบคุมความอ้วนให้เป็นปกติได้ หากไม่นับภาวะอ้วนจากโรคหรือภาวะอื่นนี้แล้ว ภาวะอ้วนส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มอ้วนตรงไปตรงมา หรืออ้วนปฐมภูมิ (Primary Obesity) ภาวะนี้พบได้เกือบ 90-95 เปอร์เซ็นต์ของภาวะอ้วนทั้งหมด ซึ่งสาเหตุก็อาจจะเกิดจากพันธุกรรม การทานอาหารมากไป ไม่ค่อยได้เผาผลาญ หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย อย่างที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกันดีอยู่นั่นแหละ ถึงแม้จะรู้อยู่เต็มอก ซึ้งอยู่ในใจว่าที่เราอ้วนอยู่ทุกวันนี้เป็นเพราะใคร หรือเพราะอะไร […]

วิถีชีวิตชะลอวัย

Lifestyle for optimal health อยากดูเด็ก ดูดี อ่อนใส อ่อนกว่าวัย ไม่แก่ เหี่ยว ย่น ห้อย ย้อย ย้วย หย่อนยาน กันแล้วละก็ ศาสตร์ชะลอวัยเขาทำอะไรกันบ้าง วันนี้จะมาสรุปให้ได้อ่านกัน 1. การนอน วิธีการนอนที่ดีได้แก่ ควรเข้านอนเวลาประมาณ 4-5 ทุ่ม ไม่ควรเลยเวลาเที่ยงคืน จัดห้องนอนให้เหมาะสมสำหรับการนอน ไม่เปิดทีวีหรือเปิดไฟนอน ไม่มีแสงไฟเล็ดลอดเข้ามาทั้งจากหน้าต่างหรือแสงจากเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ รอบศีรษะของคุณในรัศมี 1-2 เมตร ไม่ควรมีอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น โทรศัพท์มือถือ สิ่งเหล่านี้จะรบกวนสมดุลของการหลั่งฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์ในยามค่ำคืน หากคุณหลับได้อย่างมีคุณภาพดี จะมีดัชนีชี้วัดที่สำคัญคือ การตื่นขึ้นเองในช่วงเช้าระหว่างเวลาประมาณ 6-7 โมงเช้า โดยไม่รู้สึกอ่อนเพลียหรืออยากจะนอนต่อ และไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก รวมถึงไม่รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลียในระหว่างวัน หากใครที่มีปัญหาในการนอนอาจใช้ฮอร์โมนเมลาโทนินหรือสมุนไพร วาเลอเรียน (Valerian) ซึ่งอาจช่วยทดแทนยานอนหลับได้อย่างปลอดภัย 2. การทานอาหาร การลดปริมาณอาหารหรือแคลอรี่ของอาหารต่อมื้อมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดอัตราการเสื่อมหรือการอักเสบของเซลล์ได้ กล่าวคือ : ทานแต่ละมื้อให้น้อยลง […]